วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อนุกรมเลขคณิต



บทนิยาม   
            อนุกรมที่ได้จากลำดับเลขคณิต เรียกว่า อนุกรมเลขคณิต และผลต่างร่วมของลำดับเลขคณิต เป็นผลต่างร่วมของอนุกรมเลขคณิตด้วย
            เมื่อ      a1,  a1 + d,   a1 + 2d,   …,    a1 + (n – 1)d        
เป็นลำดับเลขคณิต
จะได้  
a1  +  (a1 + d)  + (a1 + 2d)  + … + (a1 + (n – 1)d)        เป็นอนุกรมเลขคณิต
ซึ่งมี
  a1  เป็นพจน์แรกของอนุกรม และ  d  เป็นผลต่างร่วมของอนุกรมเลขคณิต  จากบทนิยาม  จะได้ว่า ถ้า  a1,   a2,   a3,   …,   an   เป็น ลำดับเลขคณิต ที่มี พจน์ จะเรียกการเขียนแสดงผลบวกของพจน์ทุกพจน์ของลำดับในรูป   a+  a2  +  a3 +  …  +  an          ว่า  อนุกรมเลขคณิต
และผลต่างร่วม (
d ) ของลำดับเลขคณิต เป็นผลต่างร่วมของอนุกรมเลขคณิตด้วย
ความหมายของอนุกรมเลขคณิต
           กำหนด          a1,  a1 + d,   a1 + 2d,   …,    a1 + (n – 1)d            เป็นลำดับเลขคณิต
จะได้  
a1  +   (a1 + d)  +  (a1 + 2d)   +  …  +   (a1 + (n – 1)d)             เป็นอนุกรมเลขคณิต
ซึ่งมี
  a1  เป็นพจน์แรกของอนุกรม และ  d  เป็นผลต่างร่วมของอนุกรมเลขคณิต   d   เท่ากับ
พจน์ที่
n + 1 ลบด้วยพจน์ที่ n
ตัวอย่างของอนุกรมเลขคณิต 
1.            1  +  3  +  5  +  7  +  …  +  99          เป็นอนุกรมเลขคณิต      เพราะว่า 1,   3,   5,   …,   99         เป็นลำดับเลขคณิต        และมีผลต่างร่วมเท่ากับ  2
       2.        25  +  20  + 15  +  10  +  …          เป็น อนุกรมเลขคณิต
                  เพราะว่า 25
,   20,   15,  10,   …    เป็น ลำดับเลขคณิต 
                  และมีผลต่างร่วมเท่ากับ
– 5
การหาผลบวก n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต
               ให้ 
Sn  เป็นผลบวก   n   พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิตที่มี   a1  เป็นพจน์แรก และ  d    เป็นผลต่างร่วม
           
   จะได้    Sn  = a1  +   (a1 + d)  +  … +  [a1+(n – 2)d]  +   [a1+(n –1)d]      ----(1)
              หรือ        
S n= [a1 + (n –1)d]  +  [a1 + (n – 2)d]  + …  +  (a1 + d)    +   a1   -----(2)
              สมการ (1) + (2)  จะได้
                 2Sn    =       [2a1 + (n –1)d]  +  [2a1 + (n –1)d] + … + [2a1 +  (n –1)d]  (n  พจน์ )
                 2S   =       n[2a1 +  (n –1)d]










เมื่อ      Sn         แทนผลบวก  n พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต                       
            a1         แทนพจน์ที่ 1,  d แทนผลต่างร่วม,  n แทนจำนวนพจน์  และ an แทนพจน์ที่ n

ตัวอย่างที่ 1  จงหาผลบวก  30  พจน์แรกของอนุกรมเลขคณิต   1  +  4  +  7   +   …
                                           โจทย์กำหนดอนุกรมเลขคณิต  1  +  4  +  7  +  … 
 มี a1  =  1,  d  =  4  – 1   =  3     ถาม   S30

ดูตัวอย่างเพิ่มเติมอนุกรมเลขคณิต
<iframe width="420" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/bnYpzADV0_Y" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

<iframe width="420" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/9tfdNOlFBuk" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

<iframe width="420" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/UhLsQtMlEZI" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>





                              วีดีโอ การหารลงตัว

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อัตราส่วนและร้อยละ


อัตราส่วน  หมายถึง  การเปรียบเทียบปริมาณ  ของสิ่งของตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
              
ตัวอย่าง  1.  ต้นมีสมุด  2  เล่ม  และหนังสือ  3  เล่ม
                    อัตราส่วนของจำนวนสมุดต่อจำนวนหนังสือที่ต้นมีเป็น  2:3  อ่านว่า  2  ต่อ  3  อาจเขียนในรูปเศษส่วนว่า  2/3
               2.  ค่าจ้างทำงานชั่วโมงละ  50  บาท
                    อัตราส่วนคือ  1:5   
        อัตราส่วน  a : b หรือ a : b มี a เป็นจำนวนแรก  หรือ  จำนวนที่หนึ่ง  และ b เป็นจำนวนหลัง หรือ จำนวนที่สอง 
        ในการเขียนอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบ  ถ้าเป็นการเปรียบเทียบปริมาณสิ่งของอย่างเดียวกัน  แต่ใช้หน่วยต่างกัน  ควรเขียนหน่วยกำกับไว้ด้วย  ถ้าเป็นการเปรียบเทียบปริมาณสิ่งของอย่างเดียวกัน  แต่มีหน่วยเหมือนกัน  ไม่จำเป็นต้องเขียนหน่วยกำกับไว้
          อัตราส่วนที่เท่ากัน  หมายถึง  อัตราส่วนตั้งแต่สองอัตราส่วนขึ้นไป  ที่เมื่อทำให้เป็นอัตราส่วนอย่างต่ำแล้วจะมีค่าเท่ากัน
           ตัวอย่าง       รถจักรยานคันหนึ่งวิ่งด้วยอัตราเร็ว  20  กิโลเมตรต่อชั่วโมง
 อัตราส่วนของเวลาที่ใช้วิ่ง  ต่อระยะทาง เป็นดังนี้
                         1:60  ,  2:120  ,  3:180   ,   4:240  ,  5:300   ,  …
อัตราส่วนทั้งหมดเป็นอัตราส่วนที่แสดงอัตราส่วนเดียวกัน  เรียกอัตราส่วนดังกล่าวว่า  อัตราส่วนที่เท่ากัน
การเปลี่ยนอัตราส่วนเป็นร้อยละ
            การเขียนอัตราส่วนให้อยู่ในรูปร้อยละ  ต้องเขียนอัตราส่วนนั้นให้อยู่ในรูปอัตราส่วนที่มีจำนวนหลังของอัตราส่วนเป็น  100
            ตัวอย่าง    จงเขียนอัตราส่วนต่อไปนี้ให้อยู่ในรูปร้อยละ
                                        9 : 20   =   9/20
                                                     =  9 x 5 / 20 x 5
                                                     = 45/100
                                                     =  45  %
การเปลี่ยนร้อยละเป็นอัตราส่วน
           การเขียนร้อยละในรูปอัตราส่วน  เขียนได้โดยนำค่าร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ที่โจทย์กำหนดมาให้  มาเขียนให้ส่วนเป็น  100  หรือนำค่าร้อยละนั้นมาเขียนเป็นอัตราส่วนโดยให้จำนวนหลัง(จำนวนที่  2)  เป็น  100
           ตัวอย่าง    จงเขียนร้อยละต่อไปนี้ให้อยู่ในรูปอัตราส่วน
                                         9 %      =   9/100
                                      หรือ         =  9 : 100
                                        5  %      =  5/100
                                                     =  1/20
                                      หรือ         =  1:20
ตัวอย่างที่  1  โต๊ะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้านยาว  240  เมตร  ถ้าอัตราส่วนของด้านยาวต่อด้านกว้างเป็น  3:2โต๊ะตัวนี้กว้างเท่าไร
           วิธีทำ   ให้โต๊ะกว้าง  เมตร
                       อัตราส่วนความยาวของด้านยาวต่อความยาวของด้านกว้าง  คือ  240:a
                       เขียนสัดส่วนคือ   240/a  =  2/3
                                                           a  =  ( 2X240)/3
                                                           a  =  160
                       ดังนั้น  โต๊ะกว้าง       160   เมตร
ตัวอย่างที่ 2  ฟาร์มเป็ดแห่งหนึ่งเก็บไข่ได้วันละ  280 ฟอง  คิดเป็น  80%  ของจำนวนเป็ดทั้งหมด  ถ้าเป็ด   ตัว    ออกไข่วันละ  1 ฟอง  ฟาร์มนี้เลี้ยงเป็ดทั้งหมดกี่ตัว
        วิธีทำ    ให้ฟาร์มนี้มีเป็ด      a    ตัว
                                                  280/a  =  80/100
                                                   a        =   ( 280  x  100)/  80
                                                   a        =   350
                      ดังนั้น  ฟาร์มนี้เลี้ยงเป็ดไว้ทั้งหมด   350  ตัว